Blogger--> Supaporn Ouinong

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีพหุปัญหา (Theory of Multiple Intelligences)



                ทฤษฎีพหุปัญหา (Theory of Multiple Intelligences)

                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 )ได้กล่าวถึง ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
                -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
                -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

             ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา ( http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
                1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ
                2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิง
                 3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่
                4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
                5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี
                6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
                7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสม
                8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง

                ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์  (2552:33) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Garner ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการนำไปจัดการศึกษาในปัจจุบันGarner มีความเชื่อพื้นฐานว่า เชาว์ปัญญาของบุคคลไม่ได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายถึง 8 ประเภทหรืออาจจะมีมากกว่า นี้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้าน ต่างๆไม่เท่ากันความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนและเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ที่ระดับที่ ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

สรุป
                ทฤษฎีพหุปัญญา ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการนำไปจัดการศึกษาในปัจจุบัน ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  คือ เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
                -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
                -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

ที่มา

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2552).80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:
                แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.  
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้.[online],Available:
                http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [2556, 27 กรกฎาคม].
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. ทฤษฎีพหุปัญญา.[online],Available:
                http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences. [2556, 27 กรกฎาคม].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น