Blogger--> Supaporn Ouinong

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)



ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

                ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546:59) ทฤษฎีการเชื่องโยงมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่า การลองถูกลองผิด ทฤษฎีการเชื่อมโยงจะเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง ผู้เรียนจะต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านการมองเห็นความแตกต่าง

   ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (  http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 

                http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97 ได้รวบรวมข้อมูลของนักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่าน ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี


สรุป
                ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) มีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุดเรียกว่า การลองถูกลองผิด การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้.[online],Available:
                      http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [2556, 16 กรกฎาคม].
ทฤษฎีการเรียนรู้.[online],Available: http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97.
               [2556, 16 กรกฎาคม].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น