Blogger--> Supaporn Ouinong

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
                                

 ฉัตรสุดา เดชศรี ( http://www.gotoknow.org/posts/281932 )ได้รวบรวมและกล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อม โยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและ เพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้ หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้ เอง จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในบท เรียนจากสื่อหลายมิติ และผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตามศักยภาพ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้น และวิชาเรียนต่างๆแล้วในปัจจุบัน

                 กิดานันท์  มลิทอง  (2540:269)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

               ทัศนา สุดใจ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712) ได้กล่าวถึงว่ามีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
                ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
         การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
                1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
                3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

สรุป
                สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
                การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
                1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
                3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

ที่มา
กิดานันท์ มะลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
ฉัตรสุดา เดชศรี. สื่อหลายมิตเเบบปรับตัว[online],Available:  http://www.gotoknow.org/posts/281932
                  [2556, 21 สิงหาคม]
ทัศนา สุดใจ. สื่อหลายมิติ. [online],Available: http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712. [2556, 21 สิงหาคม]

สื่อประสม คืออะไร


สื่อประสม  คืออะไร

                  จริยา  เหนียนเฉลย (2541:113) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่าง ที่มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียว และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อหาความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดอาจใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

                วรวิทย์  นิเทศศิลป์ (2551:23) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อประสมหมายถึงการนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อนให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน การใช้สื่อประสมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง
               
                เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์ (2545:249) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกันหรือ คือสื่อหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบสัมพันธ์กันเพื่อช่วยในการถ่าย ทอดเนื้อหาสาระโดยสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีความสัมพันธ์สนับสนุนซึ่ง กันและกัน

สรุป
                 สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกัน หรือการนำเอาสื่อการสอนหลายอย่าง ที่มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียว และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

ที่มา
จริยา เหนียนเฉลย. (2541). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.               
วรวิทย์ นิเทศศิลป์.(2551). สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี: สกายบุ๊คส์.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. สงขลา:  
                   มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สื่อการสอน คืออะไร


สื่อการสอน  คืออะไร


               สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:43)ได้กล่าวว่า สื่อการสอนคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนนำมาใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

                http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html ได้กล่าวถึง สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่า
ในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

                พิมพ์พร  เก้วเครือ ( http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl? mag_id=5&group_id=23&article_id=194) สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

สรุป
                สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ที่มา
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.
พิมพ์พร  เก้วเครือ. สื่อการเรียนการสอน[online],Available: 
                http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl? mag_id=5&group_id=23&article_id=194. [2556, 21 สิงหาคม]
สื่อการสอน. [online],Available:  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html
                [2556, 21 สิงหาคม]
เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

                กัญญาภัค แม๊คมานัส (http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา
อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
 เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

                วลัยรัตน์ โตวิกกัย (http://www.gotoknow.org/posts/242734) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา   
               1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
               2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
               3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                กิดานันท์  มะลิทอง (2543:262) เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ
                1. การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน) เป็นการใช้โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้และการฝึกอบรม
                2. สื่อประสม เป็นการใช้ระบบสื่อประสมในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ในการเรียนการสอนและการฝึกอบรม
                3. การประชุมทางไกลโดยวีดีทัศน์ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ระหว่างสถาบันการศึกษาให้ได้เรียนรู้พร้อมกัน
                4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในการสืบค้นระยะไกล และเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างบุคลที่อยู่นอกระบบการศึกษาภาคปกติ
                5. ระบบสารสนเทศ เป็นการรับ ประมวลผล และจัดการข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาเช่น การตรวจข้อสอบและคำนวณผลสอบ การลงทะเบียนนักศึกษา การใช้บริการห้องสมุด ฯลฯ
                6. ระบบฐานข้อมูล เป็นระบบจัดการและเก็บรักษาฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลอาจารย์ ฐานข้อมูลวัสดุอุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ
                7. ระบบข่ายข้อมูล โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งภายในและภายนอกสถาบันเพื่อการเรียนการสอนและการสื่อสาร

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา   
               1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
               2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
               3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 
                เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
                                1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
                                2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
                                3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
                                4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
                                5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

ที่มา
กิดานันท์  มะลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญญาภัค แม๊คมานัส. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา.[online],Available:
                http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm. [2556, 21 สิงหาคม]
วลัยรัตน์ โตวิกกัย. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา. [online],Available: 
               http://www.gotoknow.org/posts/242734. [2556, 21 สิงหาคม]