Blogger--> Supaporn Ouinong

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
                                

 ฉัตรสุดา เดชศรี ( http://www.gotoknow.org/posts/281932 )ได้รวบรวมและกล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อม โยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและ เพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้ หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้ เอง จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในบท เรียนจากสื่อหลายมิติ และผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตามศักยภาพ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้น และวิชาเรียนต่างๆแล้วในปัจจุบัน

                 กิดานันท์  มลิทอง  (2540:269)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

               ทัศนา สุดใจ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712) ได้กล่าวถึงว่ามีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
                ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
         การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
                1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
                3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

สรุป
                สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
                การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
                1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
                3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

ที่มา
กิดานันท์ มะลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
ฉัตรสุดา เดชศรี. สื่อหลายมิตเเบบปรับตัว[online],Available:  http://www.gotoknow.org/posts/281932
                  [2556, 21 สิงหาคม]
ทัศนา สุดใจ. สื่อหลายมิติ. [online],Available: http://www.learners.in.th/blogs/posts/259712. [2556, 21 สิงหาคม]

สื่อประสม คืออะไร


สื่อประสม  คืออะไร

                  จริยา  เหนียนเฉลย (2541:113) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่าง ที่มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียว และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อหาความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดอาจใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

                วรวิทย์  นิเทศศิลป์ (2551:23) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อประสมหมายถึงการนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อนให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน การใช้สื่อประสมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง
               
                เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์ (2545:249) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกันหรือ คือสื่อหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบสัมพันธ์กันเพื่อช่วยในการถ่าย ทอดเนื้อหาสาระโดยสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีความสัมพันธ์สนับสนุนซึ่ง กันและกัน

สรุป
                 สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกัน หรือการนำเอาสื่อการสอนหลายอย่าง ที่มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียว และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

ที่มา
จริยา เหนียนเฉลย. (2541). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.               
วรวิทย์ นิเทศศิลป์.(2551). สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี: สกายบุ๊คส์.
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. สงขลา:  
                   มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สื่อการสอน คืออะไร


สื่อการสอน  คืออะไร


               สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:43)ได้กล่าวว่า สื่อการสอนคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนนำมาใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

                http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html ได้กล่าวถึง สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่า
ในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ

                พิมพ์พร  เก้วเครือ ( http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl? mag_id=5&group_id=23&article_id=194) สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

สรุป
                สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ที่มา
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.
พิมพ์พร  เก้วเครือ. สื่อการเรียนการสอน[online],Available: 
                http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl? mag_id=5&group_id=23&article_id=194. [2556, 21 สิงหาคม]
สื่อการสอน. [online],Available:  http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html
                [2556, 21 สิงหาคม]
เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

                กัญญาภัค แม๊คมานัส (http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา
อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
 เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

                วลัยรัตน์ โตวิกกัย (http://www.gotoknow.org/posts/242734) ได้รวบรวมและกล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา   
               1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
               2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
               3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

                กิดานันท์  มะลิทอง (2543:262) เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ
                1. การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน) เป็นการใช้โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้และการฝึกอบรม
                2. สื่อประสม เป็นการใช้ระบบสื่อประสมในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ในการเรียนการสอนและการฝึกอบรม
                3. การประชุมทางไกลโดยวีดีทัศน์ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ระหว่างสถาบันการศึกษาให้ได้เรียนรู้พร้อมกัน
                4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในการสืบค้นระยะไกล และเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างบุคลที่อยู่นอกระบบการศึกษาภาคปกติ
                5. ระบบสารสนเทศ เป็นการรับ ประมวลผล และจัดการข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาเช่น การตรวจข้อสอบและคำนวณผลสอบ การลงทะเบียนนักศึกษา การใช้บริการห้องสมุด ฯลฯ
                6. ระบบฐานข้อมูล เป็นระบบจัดการและเก็บรักษาฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลอาจารย์ ฐานข้อมูลวัสดุอุปกรณ์การศึกษา ฯลฯ
                7. ระบบข่ายข้อมูล โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งภายในและภายนอกสถาบันเพื่อการเรียนการสอนและการสื่อสาร

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา   
               1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
               2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
               3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 
                เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
                                1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
                                2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
                                3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
                                4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
                                5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

ที่มา
กิดานันท์  มะลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญญาภัค แม๊คมานัส. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา.[online],Available:
                http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm. [2556, 21 สิงหาคม]
วลัยรัตน์ โตวิกกัย. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา. [online],Available: 
               http://www.gotoknow.org/posts/242734. [2556, 21 สิงหาคม]


วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร



เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

                สิริวดี เวทมาหะ (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html) ได้กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

                อภินันท์ อินฝาง(http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__3.html ) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

                 http://eduvc.oas.psu.ac.th/~user164/lesson1.html ได้รวบรวมไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆ ว่า “IT” หรือ ไอที โดยมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คำคือ
              เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
             สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
            ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก

สรุป
                เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆ ว่า “IT” หรือ ไอที โดยมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คำคือ คำว่าเทคโนโลยี กับคำว่าสารสนเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

ที่มา
สิริวดี เวทมาหะ. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร. [online],Available:
                http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html[255629 กรกฎาคม]
อภินันท์ อินฝาง. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ.[online],Available:
                http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__3.html. [255629 กรกฎาคม]       
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ.[online],Available: http://eduvc.oas.psu.ac.th/~user164/lesson1.html.
               [255629 กรกฎาคม]                 
               


เทคโนโลยี หมายถึง



เทคโนโลยี หมายถึง

                กิดานันท์  มะลิทอง  (2543:56) กล่าว ว่า เทคโนโลยีคือความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการและความชำนาญที่สามารถนำไป ปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูงโดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์ รวมอยู่ด้วยนั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ใน ทางปฏิบัติจึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกันคือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเน้น ให้เข้าใจว่าทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

               วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:257) กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับคำว่า วิธีการ การสาน หรือการสร้าง คำว่า Logy มีความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนดสภาพสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดการการประเมิน ผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน

                สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:16) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดเป็นระบบที่ดีซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป
                เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

ที่มา
กิดานันท์ มะลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
              จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). นวัตกรรมทางการศึกษาสื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


                ทิศนา แขมมณี (2550: 12) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง กระบวนการ แนวคิด หรือวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาซึ่งอยู่ในระหว่างการ ทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควร เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การยอมรับนำไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางต่อไป

                สาโรช โศภีรักข์ (2546:28) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในวงการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนมีสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนและประหยัดเวลา

                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/235365) ได้กล่าวถึงคำว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “ นวัตกรรม ” และคำว่า “ การศึกษา ” 
             คำว่า “ นวัตกรรม ”  ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
              ส่วนคำว่า “ การศึกษา ” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
              สรุปความแล้ว “ นวัตกรรมการศึกษา ” หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ หรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล  และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

สรุป
                 นวัตกรรมการศึกษา  จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “ นวัตกรรม ” และคำว่า “ การศึกษา ”  คำว่า “ นวัตกรรม ”  ตามความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ส่วนคำว่า “ การศึกษา ” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  ดังนั้น นวัตกรรมการศึกษา จึงหมายถึงนวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   
สาโรช โศภีรักข์. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้.[online],Available:
                http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [2556, 28 กรกฎาคม].

นวัตกรรม คืออะไร


นวัตกรรม คืออะไร

                สาโรช โศภีรักข์ (2546:26) ได้กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำวิธีใหม่ ๆ เข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือนำวิธีการที่คิดว่าไม่ใช้แล้วกลับมาพัฒนาขึ้นใหม่แล้วใช้อีกครั้ง เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมให้มีประโยชน์และมีคุณค่าเหมาะสมกับเศรษฐกิจ

                ทิศนา แขมมณี (2553:418) นวัตกรรมหรือนวัตกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 แปลว่า การก่อสร้างวงการศึกษานำคำนี้มาใช้ในความหมายของ การทำขึ้นใหม่หรือ สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ซึ่งได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ทางการศึกษา
               
                บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542:12) กล่าวไว้ว่า คำว่า " นวัตกรรม " หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า " Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ ส่วนคำว่า " นวกรรม " ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำๆ เดียวกันนั่นเอง

สรุป
                นวัตกรรม หมายถึง การทำขึ้นใหม่หรือ สิ่งที่ทำขึ้นใหม่การนำวิธีใหม่ ๆ เข้ามาใช้และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ หรือนำวิธีการที่คิดว่าไม่ใช้แล้วกลับมาพัฒนาขึ้นใหม่แล้วใช้อีกครั้ง เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมให้มีประโยชน์และมีคุณค่าเหมาะสมกับเศรษฐกิจ

ที่มา
ทิศนา แขมมณี.(2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
                พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเกื้อ ควรนาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาโรช โศภีรักข์. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.






ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

                ทิศนา  แขมมณี (2553: 98) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้ คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ส่วนใหญ่เราจะมุ่งไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่ใกล้จะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนรู้มาก
                องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Johnson and Johnson, 1994: 31-37)
                   - การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (positive interdependence)
                   - การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face promotive interaction)
                   - ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability)
                   - การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแลละทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (interpersonal and small-group skills)
                  
                สมปอง จันทคง (http://www.kroobannok.com/blog/35261) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  คือ การเรียนรู้กลุ่มย่อย โดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-5 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม เป็นแนวคิดของ สลาวิน เดวิด จอห์นสัน และ รอเจอร์ จอห์นสัน มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ คือ
                1. ลักษณะของการแข่งขัน ในการศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับยกย่อง หรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่าง
              2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน รับผิดชอบในการเรียนของตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
               3. ลักษณะ ร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง  และช่วยเพื่อนสมาชิกอื่นเรียนรู้ด้วย ในปัจจุบันมักส่งเสริมการเรียนรู้แบบแข่งขันซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้เรียนเกิด ความเคยชินต่อการแข่งขันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์มากกว่าร่วมมือแก้ปัญหา  แต่ก็ให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้ง  3  ลักษณะ

               เเม่นำ (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321) กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

สรุป
                ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ
                   - การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (positive interdependence)
                   - การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face promotive interaction)
                   - ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability)
                   - การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแลละทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (interpersonal and small-group skills)

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
                พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมปอง จันทคง. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการและวิธีการสอน. [online],Available:        
               http://www.kroobannok.com/blog/35261. [2556, 28 กรกฎาคม].
เเม่นำ. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. [online],Available: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321.
               [2556, 28 กรกฎาคม].

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)



ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

                ทิศนา แขมมณี (2553:96) ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังเป็นรากฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

                อริศรา สะสม ( http://www.gotoknow.org/posts/396220) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

                วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ( http://www.pochanukul.com/?p=154) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ดังนี้
หลักการ
1.   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน
2.   ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม
3.  การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา
4.  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
5.  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.   การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2.   การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
3.   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การทำ และการเรียนรู้ต่อไป
4.   จัดสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น วัย ความถนัด ความสามารถ และประสบการณ์
5.   สร้างบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร
6.   ครูต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
7.   การประเมินผลการเรียนรู้ต้องประเมินทั้งผลงานและกระบวนการ
8.  ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมิน เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน

สรุป
                แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
                หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน สร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การทำ และการเรียนรู้ต่อไป ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย 

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. 
                     กรุงเทพฯ:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. ทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. ภาควิชาเทคโนโลยี
                    การศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [online],Available:
                    http://www.pochanukul.com/?p=154. [2556, 28  กรกฎาคม].
อริศรา สะสม. การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. [online],Available: 
                   http://www.gotoknow.org/posts/396220.  [2556, 28 กรกฎาคม]