

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental
Discipline)
.......................................................................................
.......................................................................................
ทิศนา แขมมณี (2554:
45-48) กล่าวไว้ว่าการฝึกจิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึกมีแนวคิดแยกออกเป็น
2 กลุ่มย่อย คือ
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน การฝึกสมองให้เป็นระเบียบ
2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์มีความเชื่อดังนี้ซึ่งฝึกโดยการคิด
เรียนรู้ในสิ่งยากๆ ซ้ำๆ จะทำให้จิตแข็งแรงมากขึ้น
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
เกิดจากความสามารถ
ข.
หลักการจัดการศึกษา/การสอน การพัฒนาผู้เรียนโดยการกระตุ้นสรุป ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิต หรือสมอง สามารถฝึกพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
เเม่นำ (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321 )ได้รวบรวมข้อมูลและกล่าวไว้ว่านักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร
จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้น เท่านั้น
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้
โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic
Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย (Didactic Method)
เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้ดี
ณัชชากัญ์ วิรัตชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
(Mental
Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่อง ได้โดยการฝึก
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร
จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) เชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา
(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
การฝึกสมองให้เป็นระเบียบ ซึ่งฝึกโดยการคิด เรียนรู้ในสิ่งยากๆ ซ้ำๆ
จะทำให้จิตแข็งแรงมากขึ้น ทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และกระตุ้นความรู้ของผู้เรียนออกมา
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
ที่มา
ทิศนา
แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้.[online],Available:
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [2556, 06 กรกฎาคม].
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [2556, 06 กรกฎาคม].
เเม่นำ. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.
[online],Available: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321.
[2556, 06 กรกฎาคม].
[2556, 06 กรกฎาคม].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น